เนื่องจากวันนี้ทางเมกาเขาให้เป็น National Catcher’s Day เป็นวันแคทเชอร์แห่งชาติ อยากเรียกเป็นวันแคทเชอร์สากล เรียกให้หรูหน่อยอะนะ ในฐานะที่ลุงเปาก็เป็นคนที่ชอบเล่นตำแหน่งนี้เป็นชีวิตจิตใจเช่นกัน มีบทความหนึ่งเขียนไว้ในช่วงเวลานี้พอดี จึงขออัญเชิญมาไว้บนหิ้งของบล้อกเปาสเปซ โดยอาจารย์ (โค้ชซอฟท์บอลท่านแรกใน KU) มาให้อ่านกัน

สุขสันต์วันเกิด เกษตรศาสตร์ 2 กุมภาพันธุ์ 2486 //Happy Birth Day – Kasetsart 2 February 1943

โดย พิทยา อดุลยธรรม -น้อย (KU 34)

เนื่องในโอกาสวัน Home Coming Day 2021 ในช่วงที่มีโควิด-19 ระบาดรอบใหม่ คาดว่าน่าจะไม่มีการจัดงานโฮม และถ้ามีการจัดงานก็คงไม่มีใครอยากไป ปีนี้ก็เป็นอีกครั้ง ที่ อ.ธีระ ไม่ได้ไปสนามในวันโฮม (อ.ธีระ ไม่เคยพลาดงานนี้ โดยไม่มีเหตุจำเป็น แม้แต่ตอนที่ดำรงตำแหน่ง อธิการบดี หรือรัฐมนตรี) ปีนี้ก็จัดงานบนความก้าวหน้าของเทคโนโลยีก็แล้วกัน

มาร่วมแชร์ความหลัง ความประทับใจ ความในใจ บันทึกไว้ให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ ว่าในแต่ละช่วงเวลา แต่ละรุ่นผ่านอะไรมาบ้าง (วัน Home ปีนี้ 02022021 ปีที่แล้วตัวเลขสวยมาก 02022020)

May be an image of one or more people, people playing sport and text that says "Happy National Catcher's Day @benjijohnsoncatching FEAS"

เข้าเรื่องที่อยากจะเขียนดีกว่านะ วันก่อนดูยูทูป เบสบอล MLB มีช่วงแคชเชอร์โดนลูกแฉลบไม้เข้าเต็มหน้ากาก จนลูกติดเข้าไปกับหน้ากาก (ตรงช่องมองลูก) และอีกอันหนึ่ง แคชเชอร์ก็โดนเข้าไปที่กระจับ โดนแรงมาก ขนาดลงไปนอนดิ้นเลย นึกภาพออกเลยว่าถ้าไม่มีหน้ากาก ลูกเบสบอลคงเข้าไปแทนที่ลูกกะตาแน่นอน และถ้าไม่มีหน้ากาก/กระจับ ความเร็วขนาด 100 MPH รอดตายก็คงพิการ

เพราะผู้เขียนเล่นตำแหน่งแคชเชอร์ เลยโดนมาทั้ง 2 อย่างพอเห็น VDO นั้น ก็เลยอยากแบ่งปันให้คนรุ่นหลังสักหน่อย บทความนี้อ่านเป็นข้อเตือนใจสำหรับคนที่เล่นกีฬาเบสบอล-ซอฟท์บอล (ความจริงกีฬาทุกอย่างครับ) ก็แล้วกันนะ ต้องป้องกันการเกิดการบาดเจ็บจากการเล่น (ตัวเราและผู้อื่น)

ปัจจุบันมีอุปกรณ์ ป้องกันการบาดเจ็บมากมาย ให้เลือกใช้ ในราคาที่พอใช้ได้ อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากาก helmet leg guard chest-protector กระจับ และ อื่น อื่น ให้มันทำหน้าที่เพียงครั้งเดียว ก็คุ้มค่าแล้วครับคำว่ากระจับ (groin protector /cup) ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงกระจับ-เขาควาย -Horn Nut -ที่เอามาต้มกินอร่อย อร่อย ผมไม่ทราบที่มาของชื่อของเจ้าอุปกรณ์นี้ แต่เดาว่าคงมาจากคำว่า “เบี๊ยวกระจัง” แล้วก็กร่อนคำลงมาเหลือแค่ “กระจัง” แต่จะเรียกว่า “กระจัง” มันก็คงไปซ้ำกับ”กระจัง” ที่เป็นลายไทยชนิดหนึ่ง ก็เลยเรียกว่า”กระจับ” เพราะรูปร่างของกระจับนักมวยรุ่นแรกแรก ทำด้วยผ้ายัดด้วยนวมหรือเส้นใยพืช ที่คล้ายกระจับ(เนื้อกระจับที่แกะเปลือกแล้ว) แล้วก็อย่าไปสับสนกับคำว่า “ปากรูปกระจับ” นะครับ ตรงนี้ไม่มีสาระ – เอาฮาอย่างเดียว

นึกย้อนกลับไป 40 กว่าปี ตอนเรียน ปี 2 (ปี 3 ? ) พี่ดา (กฤษดา – 34) ไปเล่นแคชเชอร์หรือยืนหลังแคชเช่อร์ – เป็นumpire (นานมากแล้ว ไม่แน่ใจ) ไม่ใส่หน้ากาก โดนลูกเข้าเต็มตา เลย ตอนนั้นแทบทุกคนคิดว่าคงบอดแน่นอน โชคดี ที่ไม่เป็นอะไร หมอปิดตาให้ประมาณ 10 กว่าวันก็ OK ทำไมต้องลุ้นขนาดนั้น เพราะมีเลือดไหลออกมาจากตาของพี่ดามากมาย ตาขาวเปลี่ยนเป็นสีแดง (เส้นเลือดฝอยแตก) และภายหลังตาขาวก็โปนขึ้นมาเหมือนปากปล่องภูเขาไฟเลย (ดูภาพประกอบ-น่ากลัวมาก)

ดังนั้น เมื่อผมโดน อาจารย์พิทยา (พี่พิท 29 ) กับพี่อิสรา (อิส -33) (ขอร้องแกมบังคับ) ให้เล่นตำแหน่งแคชเชอร์ผมก็กลัวทุกครั้ง ไม่กล้าลงเล่นโดยไม่ใช้หน้ากาก ส่วนกระจับ (groin protector / cup) รู้จักใช้ครั้งแรกหลังจากที่รู้จักกับทีม SRC Hunters ก่อนหน้านั้นไม่รู้ว่ามันต้องมีสิ่งนี้ด้วย (โชคดีที่รอดมาได้ เพราะสมัยนั้น ลูกพิชของพี่ตุ้ม (อดิศักดิ์ – 33) ความเร็วก็ประมาณ 100 KPH แล้ว) สมัยนั้น กระจับพลาสติก (แข็งแรง-เบา-ใส่สบาย-วิ่งไม่ติดขัด) ก็ไม่มีขายในประเทศไทย (หมายเหตุ – สมัยโน้นนนน ร้านขายอุปกรณ์ซอฟท์บอล-เบสบอล ที่มีคุณภาพดี ราคาจับต้องได้ ยังไม่ได้เปิดกิจการในประเทศไทย ) ก็ไปซื้อกระจับนักมวย (อลูมิเนียม) มาใช้ ก็ได้ผล-คุ้มค่าเงินเลยนะ ไปแข่งที่ พิษณุโลก (น่าจะ?) โดนลูกเข้าไป เต็ม เต็ม ถ้าไม่มีกระจับวันนั้น วันนี้คงใช้บอกเพศได้อย่างเดียวว่าเคยเป็นผู้ชาย

กระจับเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกตำแหน่ง ในinfield รวมทั้ง plate umpire ด้วย ส่วนผู้เล่น outfield ก็ควรจะใช้ เพราะทำให้ใช้ตัวบล็อกลูกได้อย่างมั่นใจและ ทุกคนที่เวลาเข้าตีลูก ก็ไม่รู้ว่า jackpot จะแตกเมื่อไรหน้ากากแคชเชอร์เมื่อก่อนนี้เป็นแค่โครงโลหะ มีนวมกันกระแทกที่หน้าผากและคาง ไม่มี helmet ไม่มี throat guard ไม่มี ear guard (ทั้งหมดมารู้จาก SRC Hunters ว่าจะต้องมี) ใช้ร่วมกันหลายคน คันหน้า สิวขึ้นไปตาม ตาม กัน ก็ยังดีแค่สิวขึ้นนะ เพราะเวลาช่วงนี้อาจจะมีโควิด-19แถมมาด้วย

หลายคนคงนึกภาพไม่ออกว่าเมื่อก่อนหน้ากากแคชเชอร์เป็นอย่างไร ก็เปรียบเทียบกับหน้ากากของพิชเชอร์ในปัจจุบันนี้ เพียงแต่โครงโลหะและนวมหนากว่าเท่านั้น โดนเข้าไปเต็ม เต็ม ก็แทบจะสลบ แต่ก็ดีกว่าหน้าเละมากมาย และก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่แคชเชอร์ (สมัยนั้น) ไม่ก้มหน้าลงมากเพื่อรับลูกที่มาต่ำ เพราะหาก ถ้าเกิด foul tip ลูกจะพุ่งโดนกลางกระหม่อม (กลางหัว) เต็ม เต็ม นะ ถึงตายได้

บทความนี้เพียงแนะนำให้รู้ว่า อุปกรณ์ ป้องกันอันตรายเป็นสิ่งจำเป็น บางคนมีอุปกรณ์ส่วนตัวเยอะแยะ โกลบสวย สวย ไม้ตีอย่างดี (ทั้งดีดทั้งเด้ง มีถุงด้วย) ลูกบอล ลูกเวท ชุดแข่งครบชุด รองเท้าแข่ง รองเท้าวอร์ม ชุดวอร์ม หมวก ถุงเท้า ถุงมือกันเหงื่อ batting glove แว่นกันแดด helmet ถังน้ำแข็ง และอื่น อื่น (ในถังน้ำแข็ง) รวมแล้วหลายหมื่นบาท แต่ควรจะต้องมีเจ้าสิ่งนี้ด้วย (ราคาหลักร้อยเท่านั้น) เพราะว่าเวลาเราเจ็บ เราไม่ได้เจ็บคนเดียว (ดูอย่างทีมแชมป์ EPL ที่อังกฤษ เป็นตัวอย่าง แค่กัปตันทีมเจ็บนิดหน่อย แต่เจ็บหนักไปถึงผู้จัดการทีมเลย)

(หมายเหตุ – ตั้งใจทีแรกว่าจะเขียนแค่ 10 บรรทัด เขียนไปเรื่อย เรื่อย ได้มา 3 หน้าเชียวนะ ทั้งหมดเป็นเรื่องจากความทรงจำของผมเอง จริงบ้างไม่จริงบ้าง อาจจะเลือนรางไปบ้าง เพราะนานมากแล้ว อาจไม่มีหลักฐานหรือพยานยืนยัน แต่มีเรื่องหนึ่งเป็นเรื่องจริงที่พิสูจน์ได้ จับต้องได้ ลองหาดูสิ อยู่ตรงไหน ) (ภาพประกอบ วาดด้วยเทคโนโลยี ขั้นสูงสุดที่มีในคอมพิวเตอร์ของผม)

May be an image of text that says "ตาขาว ตาดำ ตาขาว ตาดำ ภาพตัดลูกตา (ตัดขวาง) ภาพตัดลูก ภาพตัดถูกตา (ปกดี)"